มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลก โรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็ง (โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง) มีอัตราส่วนระหว่างการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 0.87 % สำหรับในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และเป็นอันดับสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ รองจากมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมในเพศหญิง
To play, press and hold the enter key. To stop, release the enter key.




รู้จัก...
มะเร็งปอด
มะเร็งปอด มีอยู่ 2 ชนิด
-
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell cancer พบประมาณ 15 %
-
มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-small cancer NSCLC) พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมดโดยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มีโอกาสตรวจพบโรคในระยะต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก
รอบรู้...โรคมะเร็งปอด

💬 ไอเรื้อรัง ระวังเป็น "มะเร็งปอด" จริงหรือไม่❓❓
✅ จริง
อาการ " ไอ " 🚨 เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของมะเร็งปอด โดยอาการไอที่เสี่ยงต่อมะเร็งปอดนั้น สามารถสังเกตได้ ดังนี้
1. ไอแห้ง ไอเรื้อรังติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจเป็นเดือน
2. ไอปนเลือด มีเลือดออกปนกับเสมหะบ่อยๆ
3. ไอรุนแรง จนเหนื่อยหอบ
4. ไอจนเบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
5. ไอจนเสียงแหบ หรือเสียงเปลี่ยน
🌟 ทั้งนี้ หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลานาน หรือมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงโรคมะเร็งปอด สามารถติดต่อนัดหมายพบแพทย์ได้ที่ ศูนย์มะเร็งครบวงจร รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
#CHGชัวร์ก่อนแชร์ #บุหรี่ #มะเร็งปอด #มะเร็ง

💬 ไม่สูบบุหรี่ ไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด จริงหรือไม่❓❓
❌ ไม่จริงเสมอไป
มะเร็งปอด🫁 แม้ว่าโดยส่วนมากมักจะพบในผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดโรคได้อีก เช่น
- บุหรี่มือสอง (การได้รับควันผู้จากผู้อื่นเป็นเวลานาน)
- กรรมพันธุ์
- มลพิษ มลภาวะทางอากาศ เช่น PM 2.5
- เคยได้รับรังสีรักษาบริเวณทรวง (เป็นระยะเวลานานพอสมควร)
🌟 หากสำรวจว่าตนเองมีความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลานาน หรือมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงโรคมะเร็งปอด แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างตรงจุด
#CHGชัวร์ก่อนแชร์ #บุหรี่ #มะเร็งปอด #มะเร็ง

มะเร็งปอดนับว่าเป็นมะเร็งที่พบผู้ป่วยมากที่สุดทั่วโลก และผู้ป่วยกว่า 70% จะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่จะสังเกตได้เมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามแล้ว
🚨 เช็คอาการที่เป็นสัญญาณของโรค
• ไอเรื้อรัง ไอมีเลือด นาน 2 สัปดาห์
• เจ็บหน้าอกตลอดเวลา หายใจสั้น
• น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ
• เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
• บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ หรือมีปอดติดเชื้อง่าย
☠️ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่
• การสูบบุหรี่
• การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควัน
• อายุที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ อายุ 40 ปีขึ้นไป
• คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง
• การสัมผัสกับก๊าซเรดอน หรือสารก่อมะเร็ง
🩺 สำหรับการรักษานั้นจะมี 5 วิธี คือ 1. ผ่าตัด 2. ฉายรังสี 3.ยาเคมีบำบัด 4.ยาภูมิคุ้มกันบำบัด 5.ยามะเร็งแบบมุ่งเป้า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เป็นรายเคสไป

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนถึงผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากวงจรการปลูก การผลิตอีกด้วย
"บุหรี่ ก่อให้เกิดมะเร็งต่อส่วนไหนบ้างในร่างกาย" ❓
• มะเร็งปอด • มะเร็งช่องปาก/คอหอย และกล่องเสียง • มะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และตับอ่อน • มะเร็งไตและกระเพาะปัสสาวะ • มะเร็งเม็ดเลือดขาว • (ในสตรี) มะเร็งปากมดลูกและรังไข่ 😵ผลร้ายที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ผู้ที่สูบเท่านั้นที่จะได้รับ แต่ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เข้าไปเป็นระยะเวลาที่นานก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน
☺️ ยิ่งเลิกบุหรี่เร็วแค่ไหน ยิ่งดีต่อสุขภาพตนเองและคนใกล้ตัวมากขึ้นเท่านั้นนะคะ 💪

#มะเร็งปอด นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลายคนมักจะคิดว่า มะเร็งปอด มาจากการสูบบุหรี่เท่านั้น แต่รู้ไหมว่า⁉️ อันที่จริง "แม้ไม่สูบ ก็เสี่ยงได้" เพราะ การได้รับควันบุหรี่ และการสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ ก็สามารถทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งปอดเช่นกัน

🚨ควันบุหรี่ส่งผลร้ายต่อคนรอบข้าง 🚨
😷คุณแม่ตั้งครรภ์ : เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ ภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกในครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ และมีพัฒนาการสมองที่ช้า
😷เด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ขวบ : เสี่ยงโรคปอดบวด หลอดลมอักเสบ เพิ่มขึ้น 50% มีพัฒนาการของปอดที่น้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
😷ผู้ใหญ่ทั่วไป : เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งในลำคอ ช่องปาก หลอดอาหาร ปอด ฯลฯ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันถึง 2 เท่า
ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้น คือ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยงของควันบุหรี่ หรือสวมหน้ากากอนามัยก็สามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง ส่วนครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ การลด ละ เลิก ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่อคนรอบข้างเช่นกัน
#CHGHealthTrick #ไอ #บุหรี่ #มะเร็ง #บุหรี่มือสอง #ควันพิษ #มะเร็งปอด #คุณแม่ตั้งครรภ์

🎗1. มะเร็งตับ
การคัดกรอง : ควรคัดกรองด้วยการอัลตราซาวด์ บริเวณช่องท้องส่วนบน เป็นประจำทุก ๆ 6 – 12 เดือน และการตรวจ Fibroscan รวมถึงควรตรวจค่าสารบ่งชี้มะเร็งตับ อัลฟาฟีโตโปรตีน ในเลือดร่วมด้วย
🎗2. มะเร็งเต้านม
การคัดกรอง : สตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) และอัลตร้าซาวน์เต้านมทุก 6 เดือน- 1 ปี จะสามารถลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ถึง 30%
🎗3. มะเร็งปอด
การคัดกรอง : ผู้มีความเสี่ยง ควรตรวจ x-ray ปอด รังสีปริมาณต่ำ เช่น ผู้ที่มีอายุ 55-75 ปี และสูบบุหรี่มากกว่า 30 แพ็ก/ปี
🎗4. มะเร็งลำไส้
การคัดกรอง : ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยการส่องกล้องทุกๆ 5 ปี เพราะการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นวิธีการตรวจลำไส้ใหญ่ที่ละเอียดแม่นยำและแพทย์สามารถดำเนินการรักษา หลายอย่างผ่านทางกล้องนี้ไปด้วยกันได้
🎗5. มะเร็งปากมดลูก
การคัดกรอง : สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
"มะเร็ง" โรคที่มีโอกาสรักษาหาย หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่ามีผู้ป่วยไม่มากนักที่มีโอกาสที่จะตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะต้นๆ เนื่องจากไม่พบอาการในระยะแรก ดังนั้น การตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นเรื่องสำคัญ
#CHGพยากรณ์สุขภาพ #สุขภาพ #มะเร็ง #มะเร็งตับ #มะเร็งปอด #มะเร็งเต้านม #มะเร็งลำไส้

🎗"มะเร็ง" ถือเป็นผู้ป่วยโรคกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อโควิด-19 มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยอาจมีอาการรุนแรงได้มากกว่าคนที่ไม่มีโรคหากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะมะเร็งโรคเลือดและมะเร็งปอด
เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งนั้น ทั้งตัวโรคเองและวิธีการรักษาล้วนมีโอกาสที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลงจากปกติ ฉะนั้น การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเองต่างๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง😷
#COVID19เราจะสู้ด้วยกัน #จุฬารัตน์3สู้ภัยCOVID19

🚨มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคนี้มักพบในเพศชายอายุ 45-50 ปีขึ้นไป โดยอาการส่วนใหญ่ในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ แต่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปนแล้ว
🚨มะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงคือ บุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไขมันสูง เนื้อแดงที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนจัดเป็นเวลานาน
🚨มะเร็งตับ สาเหตุมาจากโรคตับแข็งที่นอกจากจะมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สะสมเวลานานแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากไขมันพอกตับ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ,ซี และการได้รับสารบางชนิดที่มาจากเชื้อราในอาหารแห้งอีกด้วย
🚨มะเร็งศีรษะและลำคอ พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาจากการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดมะเร็งช่องปาก โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติระดับยีนที่เสริมให้เกิดมะเร็งจากการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
ดังนั้น หากพบว่าคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีพฤติกรรมหรือความเสี่ยง อันก่อให้เกิดโรคดังกล่าว แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายก่อนสายเกินการรักษา
#CHGHealthTrick #บุหรี่ #มะเร็ง #มะเร็งตับ #มะเร็งปอด #มะเร็งต่อมลูกหมาก #ผู้ชาย #มะเร็งลำไส้

👉 ผู้สูงอายุ : อายุที่เยอะขึ้น มักจะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายของเรานั้น มีความเสื่อมชราและเกิดเป็นก้อนเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ จนกลายเป็นก้อนมะเร็งในที่สุด
👉 ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ : อย่างที่รู้กันดีว่า เพราะในบุหรี่นั้น มี"ทาร์หรือน้ำมันดิน" ที่เป็น ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ส่วนสุราเมื่อดื่มเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดโรคไขมันคั่งในตับ จนกลายเป็นมะเร็งตับได้
👉 โรคอ้วน : เนื่องจากไขมันที่สะสมไว้ในร่างกายนั้นไปอุดตันและหยุดยั้งการทำงานของเซลล์ทำลายเนื้อเยื่อมะเร็ง จึงทำให้คนอ้วนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งมากกว่าคนปกตินั่นเอง
👉 บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคมะเร็ง : ในข้อนี้...แม้ว่าจะหลบเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่เราสามารถป้องกัน ดูแลตนเองได้ ด้วยการปฏิบัติตามหลัก "5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง" และอย่าลืม ‼️ตรวจสุขภาพประจำปีและคัดกรองมะเร็งด้วยนะคะ
นัดหมายพบแพทย์ >
ลงทะเบียนรับการนัดหมายและคำปรึกษาจากแพทย์
ศูนย์มะเร็งครบวงจรจุฬารัตน์
เกี่ยวกับโรคมะเร็ง
มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลก โรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มโรคมะเร็ง (โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง)
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษามะเร็ง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็ง
ติดต่อสอบถามและนัดหมายพบแพทย์
ปรึกษาเบื้องต้นเพื่อรับคำแนะนำและทางเลือกในการรักษา