top of page

การตรวจยืนยันมะเร็ง

เมื่อเจอก้อน หรือมีอาการที่บอกถึงการเกิดมะเร็งแล้ว ทางทีมแพทย์ อาจพิจารณาตรวจให้เห็นชัดในส่วนข้างในร่างกายที่มองไม่เห็น โดยการตรวจยืนยันด้วยภาพรังสี ต่างๆ ได้แก่

• การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งมากกว่าคลื่นความถี่ที่คนเราได้ยินได้ เข้าไปที่อวัยวะภายในร่างกาย และสะท้อนออกมาที่ตัวรับ ให้เห็นภาพอวัยวะภายในได้ แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถถูกบดบังโดยลมในลำไส้ได้ หรือหากคนไข้อ้วนมาก ก็จะทำให้เห็นไม่ชัดเจน


รังสี X (X-ray หรือ Röntgenray) ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่ ปี พ.ศ.2438 โดยจะฉายผ่านร่างกายออกมา เห็นเป็นภาพเงาสองมิติและมีการดัดแปลง เพื่อให้ใช้ได้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การทำแมมโมแกรม (Mammogram) ที่จะใช้เอกซเรย์เฉพาะส่วนแค่ที่เต้านมเท่านั้น หรือมีการถ่ายภาพเป็นชุดๆต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพการทำงานของระบบทางเดินอาหาร (Fluoroscopy) ที่รู้จักกันในนาม กลืนแป้ง หรือสวนแป้ง นั่นเองต่อมา มีการพัฒนา โดยให้มีการถ่ายภาพจากหลายๆมุมรอบตัวเรา แล้วนำภาพมารวมกัน เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CAT/CT scan (computed axial tomography) ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นเป็น 3มิติ ซึ่งใช้มากที่สุดในการติดตามผลการรักษามะเร็ง ใช้เวลาไม่นาน แต่มีข้อเสียคือ ต้องสัมผัสกับรังสีจำนวนมาก


• การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI (Magnetic resonance imaging) โดยใช้สนามแม่เหล็ก ส่งคืนเข้าไปในร่างกาย ให้สะท้อนออกมาที่เครื่อง แล้วแปลผลออกมาเป็นภาพ โดยอาจมีการฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดเพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นมีข้อดี คือภาพเห็นชัดเจน และไม่ต้องสัมผัสรังสีแต่ข้อเสียคือ มีเสียงดังรบกวน ใช้เวลาทำนาน และในบางราย ที่มีเหล็กอยู่ในร่างกาย ไม่สามารถทำได้


• การตรวจด้วยนิวเคลียร์ โดยจะใช้สารที่เรียกว่า สารเภสัชรังสี ที่จะสร้างมาจากการปรับปรุงธาตุเดิม โดยออกแบบว่า จะให้ไปจับที่ใดของร่างกาย แล้วใช้กล้องพิเศษถ่ายภาพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ การตรวจไทรอยด์ (Thyroid scan) หรือตรวจการลุกลามของมะเร็งไปที่กระดูก (Bone scan)


• PET/CT scan เป็นการใช้การถ่ายภาพจากเครื่องมือทางนิวเคลียร์ คือ (Positron Emission Tomography) และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) ซึ่งเป็นเครื่องยอดฮิตในการตรวจติดตามมะเร็งในหลายๆสถาบัน ยํ้าว่า”ติดตาม” ไม่ใช่ “คัดกรอง” เพราะ ใช้การถ่ายภาพด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ให้เห็นรายละเอียดภายใน ร่วมกับการใช้ PET scan เพื่อตรวจการใช้นํ้าตาล เพราะมะเร็งส่วนใหญ่ โตไวกว่าร่างกายปกติ จึงใช้ปริมาณนํ้าตาลเป็นพลังงานมากกว่าส่วนอื่นในร่างกาย เห็นเรืองแสงขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตาม มันคือเครื่องวัดการใช้นํ้าตาล ไม่ใช่เครื่องตรวจจับมะเร็ง จึงอาจเห็นภาพเรืองแสงได้จากสาเหตุอื่นด้วย เช่น การอักเสบ การบาดเจ็บ การติดเชื้อ เป็นต้น


• อย่างไรก็ดี การจะใช้เครื่องมือใดในการวินิจฉัย ติดตาม การรักษานั้น ขึ้นกับดุลพินิจของผู้เชี่ยวชาญ คือ “รังสีแพทย์” และ “แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์” ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ อีกทั้งยังคง“เรียนรู้” และสั่งสม “ประสบการณ์” ตลอดชีวิตการทำงานเพื่อให้ตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุด


• อย่างไรก็ตามภาพที่ถ่ายออกมานั้น ไม่ใช่ภาพสวยงามเหมือนที่ถ่ายจากกล้อง แต่เป็นภาพของเงา จึงจะต้องใช้ความสามารถของรังสีแพทย์อย่างสูง ในการอ่านเพื่อ ให้ออกมาเป็นรายละเอียดอย่างถูกต้องแม่นยำ


• เมื่อเห็นก้อนได้ชัดเจนแล้ว จึงพิจารณาเลือกเอาชิ้นเนื้อที่เป็นอันตรายกับคนไข้น้อยที่สุดมาตรวจ เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ เป็นมะเร็งชนิดใด อีกทั้งยังสามารถหาเป้าหมายของยามุ่งเป้าได้อีกด้วย

• วิธีการเอาชิ้นเนื้อ อาจทำได้ตั้งแต่ใช้เข็มเจาะดูดออกมา ส่องกล้องทางปอด หรือทางเดินอาหาร เพื่อที่จะงับชิ้นเนื้อเล็กๆออกมา หรือผ่าตัดก้อนทั้งก้อนออกมา

• หลังจากนั้น ก็จะให้ “พยาธิแพทย์” หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านชิ้นเนื้อ มาทำการตรวจเพื่อจะหาข้อมูลและรายละเอียดของชิ้นเนื้อออกมาให้มากที่สุด และแม่นยำที่สุดราวกับนักสืบ หลังจากนั้น จึงจะได้เริ่มกระบวนการในการรักษาต่อไป



นพ.เอกกมล ไพบูลย์วัฒนพงศ์

แพทย์อายุรกรรม สาขาอายุรเวชศาสตร์มะเร็งวิทยา

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์


สามารถติดต่อเพื่อรับข้อมูลการรักษา หรือทำนัดเข้าปรึกษาแพทย์

📞โทร. 090-953-5460


ติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการรักษา

หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่าง


โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 📍Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7


02 033 2900 ต่อ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์


FanPage : fb.com/CHGCancerCenter


Line : @CHGCancerCenter Link : https://lin.ee/b0RJt7d

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

การฉายแสง คืออะไร การฉายแสง คือการรักษาโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง (คลื่นรังสี) ปล่อยเข้าไปที่เนื้อเยื่อเป้าหมาย เพื่อหยุดการเติบโตและทำลายเนื้อเยื่อเป้าหมายดังกล่าว การฉายแสง ใช้รักษาอะไร การฉ

การฉายรังสีโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ให้รังสีต่อเนื่องในขณะที่หัวเครื่องฉายรังสีหมุนรอบตัวผู้ป่วย และสามารถปรับเปลี่ยนความเข้มของรังสีได้

LINE_SOCIAL_Circle.png
bottom of page