
การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา
1. ตรวจนับเม็ดเลือดและค่าทางชีวเคมี เพื่อประเมิน ภาวะซีด ไตวาย แคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา
2. ตรวจเลือดเพื่อ ดูระดับของโปรตีน ที่เซลล์มะเร็งพลาสมาเซลล์สร้างออกมา
3. ตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินการกระจายของเซลล์มะเร็งมัยอีโลมา
4. ตรวจทางรังสีวินิจฉัย เพื่อประเมินและค้นหาก้อนมะเร็งในตำแหน่งอื่นในร่างกาย
แนวทางการรักษา
ในปัจจุบันการรักษาก้อนมะร็งมัยอิโลมาสามารถรักษาได้ด้วยการฉายแสง ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า และการผ่าตัด โดยขึ้นอยู่กับการกระจายตัว ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และการตรวจพบมะเร็งไขกระดูกมัยอีโลมาร่วม โดยจำแนกการรักษาได้เป็น
- ตรวจพบก้อนมะเร็งมัยอิโลมาตำแหน่งเดียว โดยไม่พบอาการของมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาร่วม การรักษาที่แนะนำ คือ การฉายแสงบริเวณก้อนมะเร็ง ส่วนการผ่าตัดในปัจุบันไม่แนะนำให้ทำ ยกเว้นในกรณีที่มีกระดูกสันหลังทรุด หรือแตกหักร่วมด้วย ซึ่งมีความจำเป็นต้องผ่าตัตเสริมความแข็งแรงของกระดูกในบริเวณนั้น
- ตรวจพบก้อนมะเร็งมัยอิโลมาตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป หรือ ตรวจพบมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาร่วมด้วย การรักษาที่แนะนำคือ การใช้ยาพุ่งเป้าหรือยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสงบริเวณก้อนมะเร็ง
ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดีในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ควรจะเข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูกจากเซลล์ต้นกำเนิดของตนเองต่อไป เพื่อลดโอกาสในการกลับเป็นซ้ำของโรค
ติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการรักษา
หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่าง

โรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 📍Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7

02 033 2900 ต่อ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

FanPage : fb.com/CHGCancerCenter

Line : @CHGCancerCenter Link : https://lin.ee/b0RJt7d